เพิ่มเชื้อไฟให้ใจครู ต่อสู้ อาการคุณครูหมดไฟ

เพิ่มเชื้อไฟให้ใจครู ต่อสู้ TEACHER BURNOUT

อาการคุณครูหมดไฟ เป็นเรื่องปกติไปเสียแล้วในสังคมครู จนหลายคนรู้สึกเหนื่อยที่จะทำอาชีพครูแม้ว่าใจรัก  

สัญญาณบอกอาการ Burnout

–      นอนหลับยากและหลับไม่ลึก

–      ร่างกายเหนื่อยล้าเรื้อรัง

–      สมาธิในการทำงานสั้นลง และเกิดอาการหลงลืมบ่อยๆ

–      ความอยากอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงผิดปกติ หรือน้ำหนักขึ้นลงไม่มีสาเหตุ

–      มีอาการเครียดและซึมเศร้า

 

แต่อาการหมดไฟไม่ใช่ว่าไม่มีวิธีการบรรเทาหรือรักษา วันนี้เรา 7 วิธีเติมไฟ ลดอาการหมดไฟในตัวคุณครูมาฝากกัน

  1.       แบ่งปันความเห็นกับเพื่อนร่วมงาน

อาการหมดไฟ อาจจะลุกลามได้ง่ายเมื่อคุณครูรู้สึกโดดเดี่ยวและไร้ที่พึ่งการได้มมีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อนครูด้วยกันมีผลดีในระยะยาว เพราะนอกจากแรงสนับสนุนจากเพื่อนแล้ว การและเปลี่ยนความเห็นยังเพิ่มความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจต่ออาชีพครู และเพิ่มมุมมอมงใหม่ ๆ ให้กับตัวคุณครูเองด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ การที่คุณครูร่วมมือและสนับสนุนกันและกัน และเรียนรู้อาชีพไปด้วยกัน จะทำให้การทำงานในแต่ละวันของครูเครียดน้อยลง และสุขมากขึ้นเม่อรู้ว่ามีคนอยู่ข้าง ๆ

  1.       ดูแลตัวเอง

หลายครั้งที่คุณครูต้องผลักดันตัวเองจากงานที่หนักและความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ การดูแลตัวเองให้ดีในสถานการณ์ตอนนี้อาจจะฟังดูยาก แต่สามารถเริ่มได้จากสิ่งเล็ก ๆ เช่น การนั่งมาธิตอนเช้าหรือก่อนนอนเป็นเวลาสั้น ๆ ให้เวลาตัวเองเดินเล่นในที่ ๆ อากาศปลอดโปร่งวันละครึ่งชั่วโมง หรือแม้แต่การนอนดูรายการโปรดโดยที่ปิดโทรศัพท์งานเอาไว้เพื่อให้ถูกรบกวน สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้จะช่วยปรับให้ร่างกายของคุณครูมีเวลาได้ผ่อนคลายมากขึ้

  1.       พักผ่อน

ต่อจากข้อที่แล้ว การดูแลตัวเองให้ดีคือการที่ปล่อยให้ตัวเองพักผ่อนและใช้วันลาอย่างเป็นประโยชน์ โดยคุณสามารถเริ่มต้นด้วยการให้เวลาพักตัวระหว่างทำงานทุกชั่วโมง เมื่อทำงานเสร็จแล้ว ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน ทำตารางเวลาพักของตัวเองให้ชัดเจน

  1.       สร้างสังคมเพื่อพลังบวก

อาการหมดไฟนั้นไม่ได้เกิดจากตัวคุณครูเพียงคนเดียว แต่ก็ว่าเกิดจากปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้บุคลากอนเกิดความเหนื่อยและหมดพลัง สิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดอาการหมดไฟได้ คือการสร้างสังคมครูที่ช่วยกันสนับสนุนทั้งด้านสังคมและอารมณ์ของครูซึ่งอาจจะเริ่มได้จากโรงเรียน เช่น สร้างกลุ่มงานอดิเรกที่ช่วยให้ครูได้ทำสิ่งใหม่ ๆ ร่วมกัน จัดทริปไปเที่ยวเพื่อเพิ่มความสนิทสนม

อีกสิ่งสำคัญคืออย่าลืมสายสัมพันธ์ของใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัวและเพื่อนนอกสังคมครู สายสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญให้คุณครูไม่รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว

  1.       ตามหาต้นเหตุของปัญหา

สาเหตุของอาการคุณครูหมดไฟนั้นมีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากการสะสมจากความเครียดจากหลาย ๆ ช่องทาง ทำให้คุณครูรู้สึกว่าปัญหานั้นแก้ไม่ตก ไม่มีทางออก จนหมดไฟในที่สุด แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยคุณครูให้ไม่รู้สึกมหดใจเสียก่อน คือการค่อย ๆเขียนลิสท์ปัญหาแต่ละอย่างที่ทำให้คุณครูเหนื่อยหน่ายใจออกมา เช่น วันนี้คุณครูเหนื่อยใจ อะไรทำให้คุณครูเหนื่อยใจ ทำไม เพราะอะไร การค่อย ๆ เขียนและสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ ช่วยให้คุณครูหาทางแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ที่อาจจะสามารถจัดการเอง และค่อย ๆ ทำให้แต่ละวันของคุณครูดีขึ้นได้

  1.       มองทุกสิ่งจากหลายมุมมอง

การมองทุกอย่างจากมุมมองครู ที่มีภาระการสอนเยอะอาจจะทำให้คุณครูรู้สึกเหนื่อยได้ง่าย จนคุณครูหลายคนติดนิสัยมองโลกในมุมมองของครูนักสอน จนเกิดความเครียดเพราะรู้สึกเหมือนทำงานตลอดเวลาได้ แต่ว่านอกจากการเป็นครู ตัวครูเองก็มีหลายด้านของชีวิต เป็นหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ลองถอยหลังจาก มุมมองความเป็นครู และมองโลกจากแง่อื่นบ้าง จะช่วยลดอาการหมดไฟได้

  1.       ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ

โดยการทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ไม่ใช่แค่หางานอดิเรกใหม่เท่านั้น  แต่รวมถึงการหาวิธีการสอนและรับมือเด็กใหม่ ๆ ทุกวันด้วย เช่น ปรับเปลี่ยนเทคนิกการสอน ลองให้นักเรียนออกแบบห้องเรียนเอง ให้นักเรียนมีส่วนในการนำสอนมากขึ้น เลือกวิธีการใหม่ ๆ จากเรื่องเล็ก ๆ ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ไว้ก่อน แล้วค่อย ๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงในการทำงานและห้องเรียน จะช่วยลดความเบื่อหน่ายจากห้องเรียนได้

  1.       ขอความช่วยเหลือ

อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องให้ความช่วยเหลือนักเรียนตลอดเวลา จนคุณครูหลาย ๆ คนละเลยตัวเอง ไม่ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง คุณครูอย่าลืมว่าตัวคุณครูเองก็เป็นมนุษย์ที่เหนื่อยได้ มีขีดจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเรื่องปกติ ที่จะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างได้เช่นกัน โดยหากพบกับอาการหมดไฟ เหน็ดเหนื่อย หมดกำลังใจ คุณครูอาจจะเข้าปรึกษานักจิตวิทยา ปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า ทั้งหมดนี้ เพื่อสุขภาพจิตและร่างกายของคุณครูในระยะยาว

 

ที่มาข้อมูล  https://www.prodigygame.com/