20 วิธี แนะครู ช่วยแก้ไข โรคสมาธิสั้นของเด็กนักเรียน

โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น เป็นอีก 1 อย่างทำให้นักเรียนขาดสมาธิ ขาดสติในการโฟกัสกับบทเรียน โดยทุกวันนี้การทำการเรียนการสอน นอกจากที่คุณครูจะต้องทำหน้าที่สอนแล้วยังจะต้องมีหน้าที่ดูแลนักเรียนขณะเรียน เพื่อให้มีสมาธิ โฟกัสในบทเรียนอีกด้วย ในขณะที่คุณครูบางท่านต้องพบเจอกับนักเรียนที่มีสมาธิสั้นไม่โฟกัสกับสิ่งที่เรียน บทความนี้เรามีคำแนะนำแก้ไขในโรคสมาธิสั้นของเด็กนักเรียน

โรคสมาธิสั้น หรือ ภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder; ADHD) เป็นภาวะที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมมีการทำงานลดลง โดยเป็นภาวะที่มีการค้นพบมานานแล้วแต่อาจเพิ่งเป็นที่รู้จักในสังคมไทยเมื่อไม่นานมานี้

สาเหตุโรคสมาธิสั้น

สำหรับสาเหตุของโรคสมาธิสั้นนั้น เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันโดยมีปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม พบว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 75
ปัจจัยทางด้านระบบประสาท พบว่ามีการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณที่ทำงานเกี่ยวกับการคิด การวางแผน การจัดลำดับสิ่งต่างๆ และการควบคุมตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่าการที่แม่สูบบุหรี่ ดื่มสุราระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติคลอด ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เด็กมีโอกาสเป็นสมาธิสั้นด้วย

อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีอาการมากขึ้น หรือทำให้เด็กปกติดูมีอาการคล้าย สมาธิสั้น หรือที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม” คือ ปัจจัยทางด้านการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย ตามใจ ไม่มีกฎระเบียบภายในบ้าน ไม่มีการควบคุมที่สม่ำเสมอ

การช่วยเหลือโดยคุณครู กับการดูแลเด็กนักเรียนที่มีอาการเป็นโรคสมาธิสั้น

คุณครูมีส่วนสำคัญในการดูแลสามารถช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ การที่คุณครูมีประสบการณ์ในการเจอเด็กที่หลากหลาย จะสังเกตเห็นได้ชัดว่าเด็กคนไหนที่มีความแตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ เช่น เด็กคนนี้อาจดูซนกว่าเพื่อน ทำงานไม่ค่อยเรียบร้อย ลืมส่งงาน ค้างงานเป็นประจำ ถ้าคุณครูสงสัยว่าเด็กคนไหนเข้าข่ายสมาธิสั้น อาจหาโอกาสพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ในสิ่งที่ครูเป็นห่วง และแนะนำให้พาปรึกษาแพทย์ ก็จะช่วยให้เด็กได้เข้าสู่กระบวนการรักษาที่เร็วขึ้น นอกจากนี้คุณครูเองก็จะเหนื่อยน้อยลงและสามารถดูแลจัดการเด็กได้ขึ้นด้วย
สำหรับคุณครูผู้สอน อาจใช้แนวทางการจัดการในห้องเรียนที่เหมาะสมโดยสามารถนำมาใช้ในการดูแลเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น มีคำแนะนำดังต่อไปนี้

1. จัดให้เด็กได้นั่งแถวหน้าสุด ช่วงตรงกลาง ใกล้กับกระดานและตำแหน่งของคุณครู
2. กระตุ้นให้เด็กตอบคำถามเป็นระยะๆ หรือมอบหมายงานที่ใช้การลุกจากที่ให้เป็นประโยชน์ เช่น เดินแจกเอกสารให้เพื่อนๆ หรือเก็บสมุดจากเพื่อนๆ เป็นต้น
3. ก่อนเริ่มสอนให้สังเกตว่าเด็กอยู่ในภาวะพร้อม คือ มีสมาธิที่จะฟังครูพูดหรือไม่
4.ใช้คำพูดหรือการออกคำสั่งที่สั้น กระชับ ได้ใจความชัดเจน
5. หากเด็กกำลังเหม่อ วอกแวก ควรเรียกและแตะตัวอย่างนุ่มนวล เพื่อให้เด็กรู้สึกตัวและหันมาสนใจก่อนที่จะสื่อสารกับเด็ก
6. คุณครูควรเข้าไปหาเด็ก และใช้การกระทำประกอบไปด้วย เพราะการบอกหรืออธิบายเพียงอย่างเดียว เด็กอาจไม่ฟังหรือไม่ทำตาม
7. ให้คำชมมากกว่าการตำหนิ หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตำหนิ ประจาน ประณาม หรือทำโทษด้วยความรุนแรง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความอับอาย
8.การสอนด้านวิชาการ ควรใช้คำอธิบายสั้นๆ ประกอบการสาธิตตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมจะช่วยให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น
9. แบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ ให้เด็กสามารถทำเสร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น เด็กจะเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่ตนเองทำอะไรได้สำเร็จ มีกำลังใจในการทำงานต่อ และยังช่วยฝึกให้เด็กรู้จักการวางแผนล่วงหน้าด้วย
10. ใช้กิจกรรมที่เด็กชอบและสนใจ เช่น ศิลปะและดนตรี ในการช่วยส่งเสริมเรื่องของสมาธิ
11. ให้เด็กมีโอกาสได้ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานของตนเองที่มีอยู่ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและใช้สมาธิได้ดีขึ้น
12.พยายามให้เด็กจัดตารางเวลาหลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน
13.หาสิ่งสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลว และเขาต้องการคนให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป
14.การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็ก
15.ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกมส์ การสร้างแรงจูงใจช่วย ADD ได้มาก
16.ลายมือเด็กเหล่านี้อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง
17.จัด “คู่หู” เพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อไว้
18.เตือนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่าตนเองกำลังคิดหรือทำ อะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรร เช่น “เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร” เป็นต้น
19.ย่อยงานใหญ่ ๆ ให้เป็นงานย่อย ๆ
20.ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป

หากเด็กยังคงมีช่วงสมาธิสั้นมากถึงแม้จะใช้วิธีการในเบื้องต้นนี้แล้ว คุณครูควรแจ้งผู้ปกครองของเด็กเพื่อช่วยกันสังเกตและอาจพาเด็กเข้ารับการประเมินเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

ที่มา : manarom.com