รู้จัก 6 องค์กร ช่วยขับเคลื่อนการศึกษาไทย

          รู้ไหม? นอกจาก เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ยังมีองค์กรภาคีด้านการศึกษา ที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนการศึกษาลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กไทย ซึ่งเป็นเป้าหมายและทิศทางที่ทำร่วมกันของทุกภาคีโดยแต่ละองค์กรจะมีความแข็งแกร่งและจุดเด่นที่ต่างกัน นำมาใช้ในการช่วยเหลือสังคม ลองไปดูกันว่าองค์กรเหล่านี้มีใครกันบ้าง และปัญหาที่เค้าต้องการแก้ไขและสิ่งที่เค้าทำอยู่คืออะไรบ้าง
มูลนิธิยุวพัฒน์
          ประเทศไทยมี “เด็กขาดโอกาส” มากกว่า 5 ล้านกว่าคน และร้อยละ 80 ของเด็กขาดโอกาสนั้นมีพื้นฐานมาจากความยากจน สะท้อนความจริงที่ว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนั้น ส่งผลโดยตรงต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านการเข้าถึง หรือคุณภาพของการศึกษาที่เด็กคนหนึ่งจะได้รับ และในขณะเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาก็จะส่งผลต่อการเข้าถึงโอกาสอื่นๆ ในชีวิตวนเวียนเป็นโคจรการขาดโอกาสอยู่เรื่อยไปมูลนิธิยุวพัฒน์ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่มีฐานะยากจนต่อเนื่องตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.6 หรือ ปวช.3 ปัจจุบันมีเด็กที่รับทุนอยู่เกือบ7,000 คน มีเด็กที่รับทุนการศึกษาไปแล้ว 5,500 คน และคาดว่าจะมีนักเรียนรับทุนเพิ่มอีก1,500
          คนในปีนี้โดยรุ่นที่หลายคนในโครงการที่เรียนจบแล้วยังช่วยกลับมาสนับสนุนมอบทุนการศึกษาให้รุ่นน้องต่อไป นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ยังมีโครงการพี่เลี้ยงอาสา ให้ผู้สนใจร่วมเป็นอาสาสมัครดูแล ให้คําแนะนําน้อง ๆ ในโครงการผ่านทางโทรศัพท์และออนไลน์โดยปัจจุบัน โครงการพี่เลี้ยง อาสาสมัครดําเนินการมาเป็นรุ่นที่ 6 แล้วและยังดำเนินการต่อไปควบคู่กับงานหลักของการให้ทุนขยายโอกาสให้การศึกษาเข้าถึงได้ไม่จํากัด.
ที่มา : https://www.yuvabadhanafoundation.org
 
a-chieve
ศักยภาพของเด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกจำกัดด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
          เด็กกว่า 5 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ทักษะการอ่านเป็นหนึ่งในตัวอย่างจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำนั้นกับตัวเลขที่ชี้ให้เห็นว่าทักษะการอ่านของเด็กโรงเรียนทั่วไปตามหลังโรงเรียนชั้นนำ มากถึง 3.2 ชั้นปีรวมไปถึงเด็กมีฐานะยากจน
          มากกว่า 50% ของเด็กมัธยมไม่สามารถตัดสินใจแผนการเรียนและอาชีพในอนาคต ประเทศไทยมี“เด็กซิ่ว” ประมาณ 10,000 คนต่อปี (2555) ซึ่งทำให้รัฐเสียงบประมาณที่ลงทุนต่อเด็กหนึ่ง
         คนสูงถึง 319,350,000 บาทต่อปีรวมทั้งยังส่งผลต่อ เศรษฐกิจไทยโดยในปี2559 สถิติบอกว่าประเทศไทยขาดแรงงานที่มีทักษะเหมาะสมกับงานมากที่สุดในอาเซียนเป็นจำนวนสูงถึง 39%
         a-chieve จัดกระบวนการค้นหาตัวเองและแนะนำอาชีพ เส้นทางการเรียนสร้างแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นวางเป้าหมายชีวิตให้เด็กไทยให้พวกเขาได้เริ่มเตรียมข้อมูลเพื่อวางแผนเส้นทางการเรียนสู่อาชีพในฝันของพวกเขาได้ตรงตามความถนัดและความสนใจ ให้เด็กสามารถเริ่มต้นชีวิตไปสู่เป้าหมายที่พวกเขาสร้างเอง.
ที่มา : https://www.a-chieve.org
 
EdWINGS
การศึกษาไทยยังเผชิญกับ ความท้าทายใน 3 ด้าน คือ
1. ความขาดข้อมูลการศึกษาที่สะท้อนปัญหาจริงที่ช่วยให้ปัญหาถูกแก้ไขด้วยความเข้าใจจากต้นเหตุ
2. การพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน ที่ไม่สามารถครอบคลุมความต้องการที่แตกต่างกันไป
3. ความขาดการเข้ามามีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ มีความมุ่งมั่น ที่จะเข้ามาพัฒนาโซลูชั่นเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ข้างต้น 
EdWINGS มุ่งมั่นพัฒนาด้าน ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศผ่านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน โดยทำหน้าที่หลักในการเป็นตัวกลางเชื่อมการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ ผู้พัฒนาโซลูชั่น
เครือข่ายผู้ประกอบการด้านการศึกษาและคนรุ่นใหม่โดยประสานให้เกิดการทำงานร่วมกับโรงเรียนที่ต้องการโซลูชั่นนั้นๆ เพื่อผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การเข้าถึงโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำและเพื่อความสำเร็จของทุกฝ่ายที่ร่วมอยู่ในเครือข่าย.
ที่มา : https://edwings.co
 
Thailand Education Partnership
ประเทศไทยพยายามปฏิรูปการศึกษา มากว่า 20 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ สาเหตุสําคัญประการหนึ่ง คือ การปฏิรูปส่วนใหญ่เป็น “การขับเคลื่อนจากบนลงล่าง (Top-downapproach)” หรือ การออกนโยบายจากส่วนกลางให้ปฏิบัติตาม ซึ่ง
มักไม่สอดคล้องกับความต้องการและ ศักยภาพในแต่ละพื้นที่ และถึงแม้ว่าในหลายพื้นที่จะพยายาม
“ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง จากล่างขึ้นบน (Bottom-up approach)” แต่ก็ยังไม่สามารถผลักดันให้ระบบการศึกษาไทย ซึ่งมีความแข็งตัวเปลี่ยนแปลงได้ดังที่คาดหวัง
 
Thailand Education Partnership เชื่อมั่นว่า “การศึกษาที่ดีเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม”
พันธกิจของ TEP คือสร้างการมีส่วนร่วมด้านการศึกษา โดย
1.สร้างเครือข่ายและพื้นที่การทางานร่วม (Platform)เพื่อให้องค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ทํางานหรือสนใจงานด้านการศึกษา เกิดการสานพลังพัฒนาการศึกษาไทยอย่างเชื่อมโยงเป็นระบบ
2. เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางสังคม (Social Paradigm Movement)เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้รวมถึงการตระหนักรู้ถึงพลังและความสามารถในการร่วมเปลี่ยนแปลงการศึกษา
ที่มา : https://tepnetwork.org
 
WE Space
นักเรียนนักศึกษาไทย กว่า 40% มีความเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้าโดยสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากปัญหาด้านการเรียนและนักเรียนนักศึกษาไม่รู้จักตนเอง ไม่มีเป้าหมายในอนาคตเลือกเรียนตามกระแสสังคม ความคาดหวังของครอบครัว เรียนแล้วไม่ชอบแต่ไม่รู้จะเปลี่ยนไปเรียนสายไหน ทักษะและความรู้ที่เรียนไม่ตรงกับงานที่ทําอยากเปลี่ยนสายการเรียนหรือสายวิชาชีพแต่ไม่ทราบ
ว่าต้องทําอย่างไร
 
WE Space เป็นเว็บไซต์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รู้จักตนเองมากขึ้น ผ่านตัวอักษร E ทั้ง 5 ประเภท คือ
• E1 : Evaluate ได้รู้จัก และสํารวจอาชีพต่างๆ
• E2 : Explore เรียนรู้งานผ่านการลงมือทําและ
กิจกรรมสร้างเสริม ประสบการณ์
• E3 : Experience ก้าวสู่อาชีพที่ฝันหรือเป้าหมายใน
อนาคตได้อย่างมั่นใจ
• E4 : Empower รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนา
• E5 : Engage ตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีส่วน
ร่วมกับชุมชน.
ที่มา : https://wespace.in.th
 
#LearnEducation #LearningSolutionForAll