6 หญิงเก่ง ผู้เปลี่ยนแปลงโลก ที่คุณต้องรู้จัก!
หนึ่งในวันสำคัญของเดือนมีนาคมนี้ วันสตรีสากล แต่เมื่อสังเกตดูแล้ว ชื่อของคนสำคัญคนดังต่าง ๆ ที่เราสอนหรือเห็นมักจะเป็นผู้ชายเสมอ ชื่อเสียงและบุคคลที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนว่า ผู้หญิงนั้นแข็งแกร่งไม่แพ้เพศไหนและมีพลังที่จะเปลี่ยนโลกนั้นกลับมีสอนน้อย เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล เราจึงมีชื่อของ 6 หญิงสาวที่เปลี่ยนแปลงโลกมาฝากกัน
เจน ออสติน
เจน ออสติน นักเขียนนิยายชาวอังกฤษช่วงปีคริตศักราช 1700s-1800s เป็นนักเขียนผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อวัฒนธรรมและวรรณกรรมอังกฤษ เธอเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรกตั้งแต่เป็นวัยรุ่น โดยนิยายที่โด่งดังของเธอ เช่น Sense and Sensibility และ Pride and Prejudice ถือเป็นนิยายที่ใครๆก็ต้องอ่าน นิยายของเธอไม่ช่แค่ดังเท่านั้นแต่ยังมีอิทธิพลในโลกวรรณกรรมจนถึงปัจจุยัน
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
วีรศตรีแห่งโลกพยาบาลหรือผู้ได้รับขนานนามว่า The Lady with the Lamp หรือ สุภาพสตรีแห่งดวงประธีป ฟลอเรนซ์เกิดในปี 1820 และเสียชีวิตในปี 1910 เธอเป็นผู้ขับเคลื่อนการปรับปรุงสถานพยาบาลช่วงสงครามโลก รวมทั้งการปรับปรุงระบบและวิชาชีพพยาบาลทั่วโลก นอกจากนั้นเธอยังเป็นผู้บุกเบิกด้ารสถิติศาสตร์ทางการสาธรณสุขอีกด้วย
มารี กูรี
มารี กูรีนักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ เกิดในปี 1867-1943 เธอเป็นผู้ค้นพบและวิจัยแร่เรเดียม ที่ใช้ในการยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลล์ ทั้งยังได้รับรางวัลถึงสองครั้ง หากไม่มีเธอ เทคโนโลยี X-Ray และการรักษาโรคด้วยรังสีคงไม่มาถึงจุดนี้
โกโก แชเนล
นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ระดับโลก Chanel เธอถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแฟชั่นช่วงศษตวรรษที่ 20 เลยทีเดียว โดยเธอเริ่มต้นจากร้านขายหมวกเล็กๆในแคว้นฯอร์ม็องดี กาอนที่จะเริ่มคิดค้นน้ำหอมของตัวเองจนเป็นน้ำหอมแชเนล No. 5 ที่เป็นหนึ่งในน้ำหอมที่โด่งดังที่สุดในโลก นอกจากนั้นเธอยังเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มให้ผู้หญิงใส่กางเกงและออกแบบชุดสูทเพื่อผู้หญิงอีกด้วย
มาลาลา ยูซัฟไซ
มาลาเกิดในประเทศปากีสถาน เธอถือเป็นักเคลื่อนไหลคนสำคัญที่ออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กำผู้หญิง เมื่อชุมชมของเธอถูกกลุ่มก่อการร้ายตาลียอนเข้าครอบครองและผึคนโดยฉพาะผู้หญิงถูกกดขี่อย่างหนักและถูกห้ามแม้แต่การไปเรียนหนังสือ ไปตลาด หรือแต่งกายด้วยเสื้อผ้ามีสีสัน มาลาลาในวัย 12 ก็เขียนบล็อกให้กับ BBC นามแฝงปุลมาไค เพื่อเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชุนของเธอให้โลกรู้ถึงชีวิตภายใต้การปกครองของตาลีบัน จนถูกคุกคาม จนเมื่อปี 2012 ตอนที่เธออายุได้ 15 ปี เธอถูกผู้ก่อการร้ายบุกเข้าหาเธอบนรถโรงเรียนและยิงเข้าที่ศีรษะหวังลอบสังหาร เพราะการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพและความเท่าเทียมของเธอเป็นภัยต่อกลุ่มก่อการร้ายและรอดชีวิตมาได้ แม้แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นเธอก็ยังคงเดินหน้าเคลื่อไหวเพื่อความเท่าเทียมต่อไป และประกาษว่ากระสุนนั้นไม่สามารถทำให้เธอเงียบได้ ในปี 2015 เธอกลายเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ
เกรต้า ธันเบิร์ก