5 วิธีง่าย ๆ วัดความเข้าใจนักเรียน เพิ่มความมั่นใจหลังสอน
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการเรียนการสอน คือการวัดผลหลังเรียนใหม่ ๆ แต่ว่าสำหรับตารางเรียนที่แน่นหนาและจำนวนนักเรียนที่เยอะ ทำให้คุณครูไม่สามารถวัดความเข้าใจนักเรียนได้ทุกคนหรือตลอดเวลา ทั้งการทำข้อสอบอาจจะเพิ่มภาระทั้งครูและนักเรียน แต่ว่ายังมีหลายเคล็ดลับที่สามารถช่วยประเมินความเข้าในของนักเรียนโดยรวมได้โดยไม่ต้องใช้ข้อสอบ
วันนี้เรามี 6 วิธีทดสอบความเข้าใจของนักเรียนในห้องเรียนมาฝากกัน
สร้างสัญญาณมือประเมินตัวเองในห้องเรียน
แทนการทำแบบทดสอบหลังเรียน ที่อาจจะต้องใช้เวาและทำให้คุณครูต้องใช้เวลาเตรียมแบบฟอร์มต่าง ๆ สิ่งที่คุณครทำได้คือ การตกลงสัญญาณมือกับนักเรียนหลังจบบทเรียน เมื่อสอนจบบทเรียนหนึ่งแล้ว คุณครูให้นักเรียนในห้องโชว์สัญญาณมือของตัวเอง เพื่อประเมินห้องเรียนอย่างคร่าว ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น
ยกนิ้วโป้ง แปลว่า เข้าใจ
โบกมือ แปลว่า เข้าใจ แต่ไม่แน่ใจว่าสามารถอธิบายเรื่องที่รียนเองได้
เอานิ้วโป้งลง แปลว่า ยังไม่เข้ใจ
วิธีนี้ ง่าย รวดเร็ว สามารถใช้ได้ทั้งเรียนจริงหรือเปิดกล้องออนไลน์ด้วย
ทดสอบความเข้าใจอย่างรวดเร็ว ด้วยคำถาม “ประโยคต่อไปนี้ ถูกหรือผิด”
การจำกัดตัวเลือก และใช้ประโยคสำคัญที่เกี่ยวกับเนื้อหาหลัก ช่วยให้คุณครุได้รู้อย่างรวดเร็วว่าเด็ก ๆ เข้าใจบทเรียนนั้น ๆ จริงหรือไม่ หรือว่ามีส่วนไหนที่ตำผิดพลาดรึเปล่า นอกจากนั้นยังสามารถใช้วิธีนี้ทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนก่อนเรียนได้อีกด้วย
ตัวอย่างการใช้ เช่น
“ปรึซึมคือ รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัดหรือฐานทั้งสองเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการและอยู่บนระนาบที่ขนานกัน – ถูก หรือ ผิด ”
“ชั้นบรรยากาศโลกแบ่งเป็น 6 ชั้น ถูก หรือ ผิด”
และดูจำนวนเด็กที่ตอบถูกหรือผิด เพื่อประเมินจำนวนความเข้าใจที่เด็ก ๆ ในห้องเรียนมีต่อบทเรียน ช่วยเป็นไกด์ให้คุณครูนำการสอนต่อไป ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในห้องเรียน หรือทำควิซออนไลน์ก็ได้
แสดงความเข้าใจผ่านการวาดภาพ
หลาย ๆ ครั้งที่นักเรียนเข้าใจบทเรียน แต่ว่าไม่สามารถอธิบายความเข้าใจได้ จนทำให้ลืมสิ่งที่เรียนไปง่าย ๆ การเสริมความเข้าใจของนักเรียนได้ดีอย่างหนึ่งคือการสนับสนุนให้นักเรียนวาดรูปบทเรียนหลังเรียน เช่น เมื่อเรียนเรื่องระบบสุริยะก็ให้นักเรียนวาดระบบสุริยะ หากเป็นบทเรียนที่ไม่มีภาพ ก็สนับสนุนให้นักเรียนวาด mind mapping โดยเทคนิกนี้เป็นการเพิ่มความเข้าใจและการจดจำขอนักเรียน โดยที่ไม่ใช้การสอบที่อาจจะเครียดหรือน่าเบื่อนั่นเอง
จับส่วนผิด ช่วยกันแก้ปัญหาในห้องเรียน
ข้อนี้ช่วยวัดความเข้าใจของนักเรียน โดยการให้นักเรียนหาส่วนที่เข้าใจยาก หรือประโยคผิดในบทเรียน แล้วช่วยกันแก้ไขในห้องเรียน โดยวิธีนี้ช่วยให้นักเรียนจับสังเกตสิ่งที่ไม่เข้าใจ หรือสิ่งที่ผิดในบทเรียน และแก้ปัญหาเองอีกด้วย เช่น
ให้ประโยคภาษาอังกฤษที่มีไวยากรณ์ผิดกับนักเรียน แล้วให้นักเรียนช่วยหาว่าผิดตรงส่วนไหน ต้องแก้อย่างไร
สรุปสั้น ๆ