4 เคล็ดลับ สอนนักเรียนให้อ่านหนังสือเก่ง!
ภายในห้องเรียนห้องเดียวมีนักเรียนที่ทักษะการอ่านต่างกันมากมาก นักเรียนบางคนอาจจะสามารถอ่านหนังสือเล่มยาว ๆ ได้สบาย ๆ ในขณะที่นักเรียนบางคนอาจจะพบว่า การอ่านหนังสือโดยเฉพาะหนังสือเล่มยาว ดดยเฉพาะหนังสือนอกเวลา หรือหนังสือเรียนที่รู้สึกเข้าถึงได้ยาก นักเรียนหลาย ๆ คนพบปัญหานี้เพราะรู้สึกว่าคำศัพท์และโครงสร้างของหนังสือยากเกินไป หรือ ไม่รู้สึกว่าเนื้อเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับตัวเอง เลยยากที่จะรู้สึกมีส่วนร่วมกับหนังสือได้
แต่ว่าทักษาะการอ่านนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่นักเรียนทุกคนควรมีติดตัว เพราะนอกจากจะเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ แล้วความสามารถในการอ่านหนังสือและรับข้อมูลนั้นส่งผลต่อทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนของตัวนักเรียนในระยะยาวอีกด้วย
Jearnnr Wanzek จากเว็บไซต์ American Educator ออกความเห็นว่า นักเรียนส่วนใหญ่ แม่แต่คนที่สามารถอ่านหนังสือได้เยอะหรือคล่องแคล่ว ก็ยังต้องการคำแนะนำเพื่อที่จะสามาราถอ่านหนังสือและเข้าใจอย่างมีระเบียบเรียบร้อย การปลูกฝังความรู้ด้านเนื้อหาหนังสือช่วยให้คุณครูสามารถเข้าถึงการอ่านของนักเรียนได้อย่างทั่วถึง โดย Wanzek ได้แนะนำ 4 เคล็ดลับเพิ่มทักษะการอ่านให้นักเรียนสำหรับคุณครูที่จะปลูกฝังให้นักเรียนสามารถอ่านหนังสือได้อย่างซับซ้อน และมีพื้นฐานที่ดีเพื่อต่อยอดต่อไปด้วย โดยวิธีนี้จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้’เมื่อสอนวิชาหนังสือนอกเวลาให้กับนักเรียน หรือแม้แต่เมื่อให้เนื้อหายาว ๆ ที่นักเรียนต้องนำไปอ่านก็ได้
อย่าเร่งรีบ เริ่มต้นช้า ๆ เริ่มจากสร้างพื้นฐาน
ก่อนที่จะมอบหมายหนังสือหรือเนื้อหาอะไรก็ตามให้กับนักเรียน โดยเฉพาะส่วนที่เนื้อหามีความยากและซับซ้อน สิ่งที่คุณครูทำได้คือการเพิ่มความรู้พื้นฐานให้กับนักเรียนเกี่ยวกับหนังสือหรือข้อมูลชิ้นนั้นก่อน เช่น บริบทของหนังสือ ส่วนใดที่อยากให้นักเรียนได้เข้าใจและทำความรู้ การให้คำแนะนำรวมทั้งมอบหมายเป้าหมายในการอ่านกับนักเรียนจะช่วยให้นักเรียนเข้าถึงและเข้าใจหนังสือได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดย Wanzek ได้แนะนำเป็นสามขั้นตอนว่า “บอกเป้าหมายของการอ่าน ถามคำถามคลอบคลุม และเตรียมนักเรียนด้วยความรู้พื้นฐาน”
สอนคำศัพท์และแนวคิดที่เด็กไม่คุ้นเคยหรือรู้จัก
คุณครูสามารถให้คำแนะใจเรื่องบริบทของหนังสือ ไอเดีย หรือคำพูด โครงสร้างที่ซับซ้อนให้กับนักเรียน ก่อนที่นักเรียนจะเริ่มอ่าน เพื่อให้แน่ใจว่า นักเรียนจะไม่รู้สึกขัดเวลาอ่านหนังสือเพราะความรู้ที่ไม่เพียงพอหรือคำที่ไม่รู้จัก ผลการวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่าเมื่อนักเรียนไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ในหนังสือ 59% ทักษาะในการทำความเข้าใจก็จะลดลงไปด้วย การที่คุณครูแน่ใจว่านักเรียนสามารถเข้าใจหนังสือได้อย่างเต็มที่โดยเฉพาะเรื่องคำศัพท์และให้ความหมายที่เด็ก ๆ เข้าใจง่ายได้จริง ไม่ใช่แค่ตามพจนานุกรม
มีการนำทางให้กับห้องเรียน
ข้อนี้เป็นจุดสำคัญโดยเฉพาะกับนักเรียนที่ไม่ได้มีทักษะการอ่านที่สูงนัก การที่ครูให้นักเรียนอ่านหนังสือในห้องเรียนและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับคำแนะนำและแนวทางจากครูจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่คุณครูต้องจำไว้คือ นักเรียนจะต้องเป็นผู้อ่านหนังสือเองจึงจะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด คุณครูให้คำแนะนำแต่ไม่ควรอ่านให้ฟัง เน้นไปทางแนะแนวทางจะดีกว่า ซึ่งคุณครูอาจจะให้นักเรียนอ่านออกเสียงให้ฟังบางส่วนแล้วแนะนำต่อไปว่ามีคำไหนอ่านผิดบ้าง มีส่วนไหนที่นักเรียนรู้สึกว่ายากบ้าง
ให้นักเรียนจับกลุ่มเล็ก ในการอ่าน