3 เคล็ดลับ สอนนักเรียน ให้เป็น “นักฟัง”
เผย 3 เคล็ดลับสอนนักเรียนให้เป็น “นักฟัง”โดยทักษะที่ขาดไม่ได้เลยที่ใช้ในการพัฒนาการเรียน รวมถึงพัฒนาบุคลิกคือ “การฟัง” ผู้ฟังที่ดีสามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากด้านทักษาะการเรียนรู้แล้ว การฟังยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้นักเรียนฟัฒนาบุคลิกการเข้าสังคมที่ดี รู้จักฟัง เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น นักเรียนบางคนเป็นผู้ฟังที่ดีกว่าคนอื่นในขณะที่เด็กหลาย ๆ คนยังต้องใช้การฝึกฝน แต่ในฐานะครูเราทำอย่างไรได้บ้างเพื่อพัฒนานักเรียนเป็นผู้ฟังที่ดี? วันนี้เรามีเคล็ดลับมาฝากกัน
เผย 3 เคล็ดลับสอนนักเรียนให้เป็น “นักฟัง”
1.ให้นักเรียนมีอิสระในการทดลองการฟังในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเคล็ดลับสอนนักเรียนให้เป็นนักฟังง่าย เริ่มจากการฟังในห้องเรียนปกติ คือการให้นักเรียนนั่งนิ่ง เงียบ ไม่ขยับเขยื่อน โดยในกิจกรรมนี้เริ่มได้ด้วยการอธิบายเด็ก ๆ ว่าการเริ่มต้นการฟังนั้นให้ความสำคัญกับความคิด มากกว่าการกระทำ โดยต่อจากนี้ หรือเพื่อความชัดเจนในช่วงเวลาที่คุณครูกำหนดให้ โดยให้นักเรียนขยับตัวหรือนั่งที่นั่งตามใจในห้องเรียนได้ ตราบใดที่นักเรียนสามารถแสดงให้เห็นว่า พวกเขาฟังเสียงรอบตัว โดยกิจกรรมฝึกหัดนี้คือให้นักเรียนสังเกตสิ่งรอบตัว มากกว่าการขยับเขยื้อนหรือการแสดงออกของตัวเอง กิจกรรมนี้นอกจากจะฝึกนักเรียนแล้ว ยังเป็นการปรับห้องเรียนและคุณครู สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่จะฟังใหม่อีกด้วย
2.ตรวจสอบความเข้าใจในห้องเรียนผ่านวิธีใหม่
เคล็ดลับสอนนักเรียนให้เป็นนักฟังอีกข้อคือ คุณครูบางคนอาจจะมีวิธีดี ๆ ที่จะช่วยให้นักเรียนเงียบฟังแล้ว แต่เราจะทดสอบว่านักเรียนฟังและเข้าใจมากแต่ไหน ฟังเท่าไหร่ได้อย่างไรบ้าง วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยครูทดสอบการฟังและยังฝึกฝนการฟังของนักเรียนอีกด้วย
· ให้ไกด์โน้ตกับนักเรียนว่าวันนี้มีจุดสำคัญ เรื่องใดที่นักเรียนต้องใส่ใจฟังเป็นพิเศษบ้าง
· ให้นักเรียนเป็นคนสอน เช่น หลังจากให้นักเรียนได้เรียนบทเรียนอะไรแล้ว ให้สลับหน้าที่ คุณครูเป็นนักเรียน แล้วให้นักเรียนลองสอนในห้องแทน นอกจากจะได้ทดสอบความเข้าใจแล้ว นักเรียนยังได้เรียนรู้การพูดอย่างไร ให้คนฟังเข้าใจด้วย
· ย้อนความจำก่อนเรียน ก่อนเรียน ลองถามคำถามนักเรียนว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในคาบเรียนก่อนหน้านี้ เพื่อดูว่านักเรียนฟังมากแค่ไหน
เมื่อตรวจสอบละรู้แล้วว่านักเรียนมีทักษาะการฟังและความเข้าใจอยู่รดับไหน ใครที่ฟังเก่ง หรือใครที่ยังต้องฝึกฝน และนำไปปรับใช้ได้
3.ให้นักเรียนเรียนรู้พัฒนาทักษะการฟังในแบบของตัวเอง
การฟังนั้น ความจริงแล้วใหลายแบบ บางคนสามารถรับรู้เรื่องต่าง ๆ ผ่านการฟังได้ดีในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนสามารถฟังได้ดีกว่าที่ถ้าหากว่าหมุนปากกา หรือมีร่างกายส่วนหนึ่งขยับเขยื่อน หรือบางคนโฟกัสได้ดีกว่า หากไม่มีสิ่งใดรบกวน
การฟังไม่ได้หมายความว่าจะต้องนั่งเฉย ๆ และฟังเพียงอย่างเดียว เพราะทั้งร่างกายต่างเชื่อมต่อกันหมด ไม่ใช่แค่ต้องใช้หู แต่หลาย ๆ ก็ใช้ร่างการในการฟังต่างกันไป คุณครูช่วยสังเกตและเรียนรู้พร้อมกับนักเรียน ว่าการฟังแบบไหนเหมาะสมกับใครที่สุด ก็จะช่วยกันพัฒนาไปได้ไกล