รู้จัก EQ แนวทางพัฒนา-เสริมสร้าง EQ ในเด็ก ผู้ใหญ่

EQ

EQ คืออะไร รู้จักความหมายของ EQ


คำว่า EQ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Emotional Quotient ซึ่งมีคำแปลภาษาไทยมากมาย เช่น เชาว์อารมณ์, ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์, อัจฉริยะทางอารมณ์ในที่นี้ขอใช้คำแปลว่า“ความฉลาดทางอารมณ์”หรือ Emotional Intelligence หมายถึงความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักถึงความรู้สึก ของอารมณ์ตนเองและของผู้อื่นสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้สามารถรอคอยการตอบสนองความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะ สามารถให้กำลังใจตนเองในการเผชิญปัญหาอุปสรรคข้อขัดแย้งต่างๆได้อย่างไม่คับข้องใจ รู้จักขจัดความเครียดที่จะขัดขวางคิดริเริ่มสร้างสรรค์อันมีค่าของตน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีความสุขจนประสบความสำเร็จในการเรียนในอาชีพ ตลอดจนประสบความสำเร็จในชีวิต

ทั้งนี้ คนที่มี EQ สูง จะเป็นคนที่มีความเข้าใจตนเองดี รู้เท่าทันอารมณ์ของตน รู้จุดเด่นจุดด้อยของตนมีความสามารถในการควบคุม และจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้สามารถแสดงอารมณ์ต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

IQ กับ EQ ต่างกันอย่างไร

-IQ หรือ Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง

-EQ หรือ Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับปรือควบคุมได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะการณ์

-IQ เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก

-EQ แม้จะเป็นศักยภาพทางสมองเหมือนกันแต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้นได้

-IQ สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้

-EQ ไม่สามารถระบุซื้อออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลข

แนวทางพัฒนา EQ


1.เพื่อให้การศึกษาสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามที่สังคมปรารถนา
2.ฝึกให้เด็กรู้จักคุณค่าของตนตามความเป็นจริง ให้มองตนเองในแง่ดี รู้สึกดีต่อชีวิต สามารถชื่นชมตัวเองได้
3.ฝึกสำรวจอารมณ์ตัวเอง หาสาเหตุของอารมณ์ เข้าใจตนเองและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
รู้จักแยกแยะอารมณ์ของตนว่าอารมณ์ใดดีอารมณ์ใดไม่ดีถ้าไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ผลที่เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบถึงตัวเองและผู้อื่นอย่างไร สามารถที่จะอดทน รอคอยและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมได้อย่างดี
4.ฝึกความสามารถในการหยั่งรู้อารมณ์ของผู้อื่นสามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นได้จนทำให้เกิดความ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจผู้อื่น ฝึกการสังเกต และการตรวจสอบอารมณ์อยู่เสมอ
ฝึกการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับตนเอง ทั้งแรงจูงใฝ่สัมฤทธิ์ (achievement motive) และ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (affiliation motive)
5.ฝึกความมีมนุษยสัมพันธ์ การแสดงน้ำใจ เอื้ออาทรต่อบุคคลอื่น เห็นคุณค่าของตนและมองเห็นคุณค่าของผู้อื่น ฝึกให้เกียรติผู้อื่นด้วยความจริงใจ แสดงความชื่นชอบ ชื่นชมและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

กลยุทธ์สำคัญในการเสริมสร้าง EQ


1.สร้างปฏิสัมพันธ์ และเข้าใจผู้ร่วมงานมีท่าทีที่ดีในการสื่อสาร เน้นความผูกผัน เอื้ออาทร เป็นผู้รับฟังที่ดี
2.เพิ่มพลังความคิด ด้วยการขยันหาความรู้ เพื่อสร้างความคิดใหม่ ๆ (creativity) อยู่เสมอ
3.ขจัดความโกรธ และรับมือความเครียด ควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้
4.มีสติปัญญาในการมองโลก พิจารณาสภาพสิ่งทั้งหลายด้วยใจสงบเป็นธรรมไม่อคติ
5.รู้คุณค่าและความหมายแห่งชีวิตตนเองและผู้อื่น
6.รู้จักที่จะรักและไว้วางใจผู้อื่นรู้จักที่จะอดทนต่อการเรียนรู้อดทนต่อความโกรธความเสียใจความเจ็บใจทั้งหลาย ทั้งปวง
7.มีความพอดีกับชีวิต ไม่ทำความเดือนร้อนกับผู้อื่น

ที่มา :  GotoKnow , pangpond.com