นักเรียน กับ 5 อุปสรรคใหญ่ ทำไมถึงเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้!

อุปสรรคนักเรียนไทย

นักเรียน กับ 5 อุปสรรคใหญ่ ทำไมการเรียนภาษาอังกฤษในระบบการศึกษาไทยเป็นเรื่องยาก

ในขณะที่โลกยุกโลกาภิวัตน์ต้องการคนที่เก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น นักเรียนไทยต้องเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก รวมทั้งต้องผ่านการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษมากมายตลอดชีวิตการศึกษา แต่ระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของคนไทยกลับร่วงลง โดยล่าสุดในปี 2019 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า จากผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษโดย EF English Proficiency Index (EF EPI)  แสดงผลว่าอันดับการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยตกลงมาจากปี2018 ถึงสิบอันดับ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 74 ของโลกและจัดเป็นกลุ่มที่มี “ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษต่ำมาก”   Fluentuเว็บไซต์ของครูสอนภาษาอังกฤษทั่วโลกเปิดเผยประสบการณ์ว่าถึงแม้ว่าระบบการศึกษาประเทศไทยจะมีการสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับช้นต้น ๆ ก็ไม่ได้ทำให้นักเรียนไทยมาสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว โดยที่สาเหตุนั้น เริ่มมาตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไปจนถึงวิธีการสอนที่มีจุดอ่อนมากมาย วันนี้เราจึงมาแบ่งปัน 5 อุปสรรคที่ทำให้การสอนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากในระบบการสอนของการศึกษาไทย

นักเรียนท่องจำบนกระดาษมากกว่าการนำไปใช้จริง

ในการสอนภาษาอังกฤษโรงเรียนส่วนใหญ่เริ่มที่การท่องจำคำศัพท์และโครงสร้างของไวยยากรณ์มากกว่าการนำไปปรับใช้จริงในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะดูเหมือนเป็นการทำให้นักเรียนมีพื้นฐานที่ดี แต่ผลที่ออกมากลับตรงกันข้าม นักเรียนเคยชินกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื้อตอบคำถามในข้อสอบและใบงาน เลียนแบบรูปประโยคต่าง ๆ ที่ถูกจำกัดด้วยหนังสือเรียน ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใดนอกจากใบกระดาษ

คุณครูสามารถช่วยเหลือนักเรียนอย่างไรได้บ้าง?

ไม่มีที่จะทำให้การเรียนรู้ภาษาได้เท่าการนำไปใช้จริง การเริ่มต้นสื่อสารด้วยการฟังพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้ การสร้างสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่บังคับให้เด็ก ๆ ใช้ในการสื่อสารเพื่อสั่งสมประสบการณ์เป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ก็ยังเป็นเรื่องยากด้วยข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรและสื่อ ทำให้สิ่งนี้เป็นเรื่องยาก แต่สิ่งนี้สามารถเริ่มต้นได้ ด้วยการผลักดันให้นักเรียนใช้สื่อภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เช่น ดูหนังหรือละครภาษาอังกฤษ

นักเรียน ไม่เคยได้ฝึกเขียน

การเขียนเรียงความกับการเขียนประโยคลงในแบบฝึกหัดนั้นต่างกันมาก ถึงแม้ว่านักเรียนจะได้เขียนเรียงความภาษาอังกฤษบ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิจประจำวัน เว็บไซต์ Fluently ออกความเห็นว่า ขั้นตอนการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษนั้นในการสอนของไทยนั้นใช้การคิดวิเคราะห์และความเข้าใจน้อย นักเรียนเพียงแค่รับรู้รูปแบบของการเขียน และเขียนตามเพื่อส่งงานเท่านั้น ต่อให้เขียนมากเท่าไหร่ก็เป็นไปได้ยากที่จะพัฒนาการเขียนให้แหลมคมขึ้นถ้าขาดขั้นตอนการเรียบเรียงและคิดวิเคราห์ที่ถูกต้อง ทั้งที่การเขียนเรียงความให้มีประสิทธิภาพที่สุดมีทั้งการรวบรวมข้อมูล คิดวิเคราะห์จัดวาง ยิ่งขั้นตอนเหล่านี้ได้รับความใส่ใจมากเท่าไหร่ ทักษะการเขียนและการใช้ภาษาของนักเรียนจะยิ่งแหลมคมเท่านั้น แต่ว่าเมื่อขั้นตอนเหล่านี้ในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษของนักเรียนไม่ได้รับความใส่ใจเท่าที่ควร ยิ่งทำให้การฝึกฝนภาษาอังกฤษนั้นมีประสิทธิภาพต่ำขึ้น

คุณครูสามารถช่วยเหลือนักเรียน อย่างไรได้บ้าง?

การให้ความสำคัญในการเขียนนั้นไม่ได้อยู่ที่จำนวนเท่านั้น แต่รวมทั้งช่วงเวลาที่เขียนขึ้นมาด้วย การให้ความสำคัญกับขั้นตอน ร่างบทความ(Drafting) ตรวจพิสูจน์อักษร(Proofreading) การตรวจทานและแก้ไขอีกครั้ง(Editing)  วิธีนี้ทำให้นักเรียนได้เริ่มเรียนรู้จากการเขียนตั้งแต่ขั้นตอนการวางโครงสร้างด้วยตัวเอง และตรวจทานแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ  ซึ่งการฝึกฝนด้านน้ำให้ทักษาะด้านภาษาของนักเรียนคล่องแคล่วขึ้น เพราะได้เรียนรู้วิธีการแสดงความเห็นและรูปประโยคที่ซับซ้อนและหลากหลายขึ้น ทำให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในโลกแห่งความจริงมากกว่านั่นเอง

 

นักเรียนไม่ได้เรียนรู้ทักษะ Editing

เมื่อนักเรียนได้รับงานที่ตรวจกลับมาแล้ว เรียงความหรืองานชิ้นนั้น ๆ ก็ไม่ได้รับการแก้ไขต่อ ทั้งที่ความจจริงแล้ว ความการรับรู้ความผิดพลาดในงานของตัวเองและเรียนรู้ที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อที่จะไม่ได้ทำผิดพลาดซ้ำ เป็นขั้นตอนสำคัญ นักเรียนใช้เวลากับชิ้นงานต่าง ๆ น้อยจนเกินไป จนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเอง เมื่อทำงานชิ้นใหม่ ทักษาจึงไม่พัฒนาขึ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขั้นตอนการ Editing งาน ทั้งก่อนและหลัง มีความสำคัญที่จะทำให้นักเรียนสามารถต่อยอดทักษาะการเขียนได้ในระยะยาว แต่นักเรียนไทยกลับได้รับโอกาสในการทำสิ่งนีน้อยนั่นเอง

คุณครูสามารถช่วยเหลือนักเรียนอย่างไรได้บ้าง?

การเริ่มตั้นขั้นตอน editing นั้น หากให้เริ่มจากงานตัวเอง เด็กหลายคนอาจจะเห็นเป็นเรื่องยาก วิธีหนึ่งที่คุณครูสามารถทำได้คือ การให้นักเรียนและกันตรวจแก้เรียงความของกันและกัน เพื่อเพิ่มประสบการณ์ นอกจากนั้นการแก้ไขงานของคนอื่นที่เป็นเนื้อหาใหม่ยังง่ายกว่าการแก้ไขเนื้อหาเก่าที่นั้เรียนชินตา

เกรดมีความสำคัญกว่าผลตอบรับและคำแนะนำ

ทั้งด้วยระบบการศึกษาที่เน้นการเก็บเกรดวัดผลเป็นหลัก ส่งผลให้เป้าหมายเรียนของเด็กคือการทำคะแนนให้พอ มากกว่าการพัฒนาทักษะ ส่วนตัวครูเองก็ต้องเน้นการเก็บเกรดให้นักเรียน การวัดผลผ่านข้อสอบและแบบฝึกหัดที่ตรวจข้อผิดถูกแล้วจบ จึงจะเข้ากับระบบการศึกษาที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการให้ข้อความเห็นในการแก้ไขงาน การวัดผลนักเรียยนด้วยข้อสอบปรนัย หรือเพียงแค่เห็นเกรดจากข้อสอบที่วัดไวยากรณ์อาจจะช่วยนำทางให้นักเรียนเข้าใจทักษะและนำไปพัฒนาต่อไม่ได้ สิ่งที่นักเรียนต้องการ คือข้อความเห็นและข้อแนะนำต่อคนที่ละเอียดอ่อนและเจาะจงต่อตัวนักเรียนแต่ละคนมากขึ้นเพื่อพัฒนาตัวเอง ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากระบบการเรียนการสอนอย่างเดียว แต่รวมไปถึงรบบการศึกษาและบุคลากรครูที่ไม่เพียงพอและไม่พร้อม

คุณครูสามารถช่วยเหลือนักเรียนอย่างไรได้บ้าง?

การให้นักเรียนได้รับ Individual feedback เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากคุณครูมีเวลาไม่พอให้คำแนะนำตัวต่อตัว อาจจะจัดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อแนะนำและแลกเปลี่ยนความเห็น สิ่งหนึ่งที่ช่วยครูได้คือการสนับสนุนการเรียนแบบ Peer Learning ให้นักเรียนสามารถช่วยเหลือการพัฒนาด้านภาษาด้วยกันได้

นักเรียนขาดความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ

เพราะการเรียนที่เน้นการเขียนตอบลงในแผ่นกระดาษเป็นหลัก แต่ไม่ได้รับการฝึกฝนในการสื่อสารที่มากพอ ทำให้นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในระบบการศึกษาไทยไม่มีความมั่นใจในการใช้สิ่งมันในชีวิตประจำวัน นักเรียนไทยอาจจะมีทักษาะการเขียนอ่านที่ยอดเยี่ยม แต่ว่าด้วยระบบที่เรียนอย่างพึ่งพาแบบฝึกหัดและครูมากกว่าสะสมทักษะของตัวเองทำให้นักเรียนอาจขาดประสบการณ์ในการใช้ภาษาอังกฤษ ยิ่งทำให้เกิดความไม่มั่นใจ และหลีกเลี่ยงการใช้โดยไม่รู้ตัว

คุณครูสามารถช่วยเหลือนักเรียนอย่างไรได้บ้าง?

เว็บไซต์ FluentU ให้ความเห็น นักเรียนไทยกระตือรือร้นที่จะพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเองมากขึ้น แต่อาจจะต้องการคำชี้แนะมากกว่านี้ เมื่อได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ปัญหานี้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป การที่คุณครูช่วยติดตามการพัฒนาทักษาะของนักเรียนอย่างใกล้ชิด พยายามเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารมากกว่าการทำแบบฝึกหัดหรือท่องจำ รวมทั้งสนับสนุนให้นักเรียนหาประสบการณ์ในการใช้ภาษานอกห้องเรียนได้

       ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับปรุงการศึกษาภาษาอังกฤษในทันทีไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งด้วยระบบการศึกษาในปัจจุบันของไทยทำให้มีข้อจำกัดมากมาย  แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ภาษาอังกฤษไม่ใช่แค่ทักษาะเสริม เป็นทักษะจำเป็นที่ขาดไม่ได้ หากไม่รีบแก้ไข จะส่งผไม่ใช่แค่ต่อตัวนักเรียนเอง แต่ต่อประเทศในระยะยาวอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ และ FluentU