นักเรียนไม่เหงา ไม่ลืมครู!! รับมือเรียนออนไลน์ ใกล้ชิดครูเสมือนเรียนในห้องเรียน

เรียนออนไลน์

เชื่อว่านักเรียนหลายคนอาจจะเบื่อกับการเรียนออนไลน์ เพราะด้วยอุปสรรคทางการเรียน อุปกรณ์ สมาธิที่นักเรียนต้องสร้างและจดจ่อขึ้นมาเอง ยิ่งหากเป็นเด็กนักเรียนช่วงชั้นประถมหรือชั้นที่ยังไม่จดจ่อต่อการเรียนนั้น การเรียนออนไลน์เป็นเรื่องที่อาจจะยากลำบาก
อีกทั้งการเรียนออนไลน์ยังทำให้ระยะห่างระหว่างคุณครูและนักเรียนนั้นมีมากขึ้น โดยที่การสื่อสารทางการเรียนนั้น กลายเป็นเพียงเสียงจากจอภาพ ยิ่งทำให้การเรียนการสอนยากขึ้น โดยในบทความนี้ มีเคล็ดลับการลดระยะห่างในการเรียนออนไลน์ระหว่างครูกับนักเรียนมาฝากกัน

เล่นใหญ่เรียกความสนใจกับนักเรียน
การเรียกความสนใจจากนักเรียนที่อยู่ฝั่งของจอนั้นไม่ใช่เรื่อง่าย เพราะนอกจากการมีอยู่ของคุณครูจะลดลงเหลือแค่จอเล็กๆแล้ว นักเรียนยังต้องพบเจอสิ่งกระตุ้น เบี่ยงความสนใจจากการสอนตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการเล่นใหญ่ใช้เสียงที่ดังขึ้น สลับกับเสียงกระซิบในการสอนแต่ละเนี้อหา อ่านและสอนบทสรุปต่างอย่างใส่อารมณ์สนุกๆ เหมือนการเล่นละครในการสอน จะช่วยดึงความสนใจจากนักเรียนได้มากขึ้น

มุ่งเชื่อมต่อกับนักเรียน
การทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ได้อยู่เพียงแค่คุณภาพของการเรียนการสอน แต่รวมไปถึงสายสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักเรียนด้วย การที่ครูแสดงให้นักเรียนเห็นว่าคุณครูพร้อมเปิดใจเพื่อที่จะเข้าใจนักเรียน เป็นผู้ที่นักเรียนสามารถปรึกษาและเข้าหาได้เสมอ จะทำให้นักเรียนรู้สึกไว้ใจและมีความคิดแง่บวกต่อการเข้าร่วมเรียนมากขึ้น โดยคุณครูสามารถจัดเวลาสองนาทีก่อนหรือหลังเรียนเพื่อถามสารทุกข์สุกดิบของนักเรียนไปจนถึงขอข้อเสนอแนะในการเรียนจากนักเรียน เพื่อให้เขารู้สึกว่าครูเป็นมากกว่าแค่เสียงที่สอนเขาจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือแต่เป็นคนจริงๆ

เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้พูด
การเรียนที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือห้องเรียนที่นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้รับฟังความเห็นของกันและกัน และมีส่วนร่วมในห้องเรียน ซึ่งการที่ทุกคนได้พูดอาจจะได้หมายถึงการส่งเสียงอย่างเดียว คุณครูอาจจะเปิดฟอร์มให้นักเรียนสามารถถามคำถามได้โดยไม่ต้องแสดงชื่อเพื่อลดความกดดัน หรืออาจถามคำถามที่สามารถตอบได้ครั้งละหลายๆคน หากนักเรียนรู้สึกว่าตัวเองสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนและเป็นที่ต้อนรับจากอาจารย์เจ้าของห้อง นักเรียนจะรู้สึกว่าการเรียนนั้นมีความหมายมากขึ้นนั่นเอง

ชมนักเรียนตัวต่อตัว
ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเรียกนักเรียนแต่ละคนมาสัมภาษณ์เพื่อชมทีละคน แต่หมายถึงการรับรู้ถึงนักเรียนแต่ละคนอย่างใส่ใจ คำชมที่กว้างเกินไปนอกจากจะทำให้นักเรียนไม่สามารถจับจุดได้แล้วยังไร้ความหมายหากใช้บ่อยเกินไป การแสดงความใส่ใจต่อเด็กแต่ละคน เช่น ชมเด็กแต่ละคนอย่างจริงใจและเจาะจง หรือให้คำแนะนำต่างๆที่แสดงให้เห็นว่าคุณครูใส่ใจในตัวนักเรียน แม้จะเป็นเพียงคำเล็กๆน้อยๆก็ตาม

ใส่ใจทั้งเรื่องอารมณ์และสังคมของนักเรียน
ไม่ว่าจะนักเรียนระดับชั้นไหนก็ควรได้รับการชี้แนะให้เติบโตทั้งด้านอารมณ์และสังคม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญพอๆกับบทเรียนในหนังสือ คุณครูสามารถหากิจกรรมที่พัฒนาทักษะด้านอารมณ์และสังคมกับนักเรียนง่ายๆเช่น กิจกรรมให้นักเรยนแบ่งปันคำคมที่ชอบ เขียนมายด์แมปอารมณ์ หรือแม้แต่ถามว่านักเรียนมีอารมณ์อย่างไรก่อนเริ่มเรียน เป็นทำให้นักเรียนตระหนักรู้ถึงอารมณ์ปัจจบันของตัวเองเละเรียนรู้ที่จะแบ่งปันมันมากขึ้นนั่นเอง

ที่มา : https://www.edutopia.org/