ทำไมครูถึงอยากลาออก ? เมื่อครูลาออกช่วง Covid-19 กลายเป็นปัญหาใหญ่

ทำไมครูถึงอยากลาออก
ทำไมคุณครูถึงอยากลาออก
คุณครูหลาย ๆ คน ทั้งที่รักสอนและนักเรียนมาก ใจยังรักวิชาชีพการเป็นครูอยู่ แต่ก็ต้องลาออกไป ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่คุณครูต้องพบกับภาระที่มากขึ้น ทั้งจากโรงเรียนและการสอนออนไลน์ ทำให้ภาระอาชีพของครูนั้น กดดันมากขึ้น ปัญหาครูลาออกนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่และเกิดขึ้นทุกที่ ทั้งครูเอกชนลาออกไปสอบราชการ หรือครูราชการลาออกไปเพราะทนภาระและความกดดันไม่ไหว
ปัญหาครูลาออกกลายเป็นปัญหาในประเทศสหรัฐ เมื่อ EdWeek รายงานว่าในช่วงปีโรคระบาดนี้ มีครูลาออกเป็นจำนวนมากในอเมริกา
ปัญหาที่พบเจอได้ในอาชีพครูทั่วโลกคือ
  1.       เงินเดือนที่ไม่สมเหตุสมผลกับงาน
  2.       เวลางานที่ยาวเกินไป
  3.       เป็นอาชีพที่มีสุขภาพจิตและอารมณ์
  4.       ต่อให้เข้าอบรมมากแค่ไหนก็ไม่เท่าความลำบากที่เจอในห้องเรียนจริง
  5.       ไม่ได้รับความเคารพ
ซึ่งดูเหมือนสิ่งเหล่านี้จะหนักยิ่งขึ้น เมื่อสถาการณ์ที่จึงเครียดออย่างการระบาดโควิด เข้ามา
เมื่อครูลาออกกลายเป็นปัญหาใหญ่
ความเครียดและรายได้ที่น้อยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ครูลาออก แต่ว่าอะไรที่ทำให้ปัญหาครูลาออกกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นขึ้นมาในช่วงเวลาแบบนี้ สถาบันวิจัย RAND พบว่า ปัญหาจากภาวะโรคระบาดตั้งแต่ปี 2020 ส่งผลให้ครูในสหรัฐอเมริกา พบว่าในหมู่ครูที่ลาอออกจากโรงเรียนช่วงระบาดของ Covid-19  64%เผยว่าลาออกเพราะค่าตอบแทนทีไม่สมเหตุสมผล กับงานที่หนัก ความเครียด รวมทั้งความเสี่ยงที่คนเป็นครูต้องเผชิญในช่วง Covid-19 ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็ผลมาจากระบบที่เดิมมีปัญหาอยู่แล้ว และไม่สามารถรองรับและปรับตัวกับสถานการณ์ได้ทัน
 ผลสำรวจพบว่าในอเมริกา ปกติในแต่ละปีมีครูลาออกเฉลี่ยปีละ 8 เปอร์เซ็น แต่มีการคาดเดาว่าจำนวนครูลาออกนั้นยิ่งพุ่งสูงในช่วงปีที่ Covid-19 ระบาด ความเครียดคือปัจจัยสำคัญหลักที่กดดันให้คุณครูลาออก แต่โควิดทำให้ความเครียดนั้นเลวร้ายขึ้น
ผลสำรวจจาก EdWeek การสอนออนไลน์ทำกำลังใจในการสอนของครูลดหาย เพราะการสอนออนไลน์ทำให้การสื่อสารกับนักเรียนยากขึ้น การเชื่อมต่อกับนักดรียนน้อยลง นอกจากนั้นความรับผิดชอบในฐานะครูที่ต้องดูและนักเรียนในช่วงโรคระบาด รวมทั้งความกลัวจากการติดโรคติดต่อนั้นเองยิ่งทำให้ความเครียดของครูสูงขึ้น แต่ว่า EdWeekแสดงความเห็นว่า Covid-19 ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้คุณครูลาออกจากอาชีพที่ตัวเองรัก แต่เป็นเหมือนกับฟางเส้นสุดท้ายมากกว่า
ทำไมถึงลาออก? ประสบการณ์จริงจากครูท่านหนึ่ง
ลิซ่า เพเลจริโน คุณครูจากอเมริกาผู้ทำอาชีพครูได้เจ็ดปี ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บEdWeek  ที่คงตรงใจกับครูหลาย ๆ ท่านว่า โควิดเป็นฟางเส้นสุดท้ายก็จริง แต่หลังจากเป็นครูได้เจ็ดปี ถึงแม้ว่าเธอจะรักอาชีความเป็นครู นักเรียน และการสอน ทุก ๆ ปี ห้องเรียนกลับใหญ่ขึ้นโดยที่บุคลากรยังเท่าเดิม งบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนลดลง เงินเดือนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนงานที่เพิ่มขึ้นทุกปี งานนอกเวลาที่คนภายนอกไม่เข้าใจก็มากขึ้น เธอเสียเวลาส่วนตัวไปมากในการเตรียมการสอนและตรวจข้อสอบ จนเครียดนอนไม่หลับ
           เมื่อสถานการณ์โควิด-19 หนักขึ้น ภาระการสอนของครูและความยากเองก็มากขึ้น แต่คนภายนอกกลับมองว่างานของครูสบายขึ้น เพราะไม่ได้กลับไปสอนในห้องเรียน ลิซ่ากล่าวว่า เธอรู้สึกเหมือนสังคมกดดันและผลักให้คุณครูเป็นตัวร้าย ที่ขี้เกียจสอนเด็ก ๆ ในห้องเรียน ทั้งที่การสอนออนไลน์นั้นยากและเหล่าคุณครูแทบไม่มีเวลาปรับตัว
ตอนนี้โรงเรียนของเธอได้เปิดสอนตามปกติแล้ว แต่เธอก็ยังไม่สบายใจที่จะกลับไปสอน เพราะสามีของเธอเป็นกลุ่มเสี่ยงโควิด และ เธอไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงนั้นห้กับครอบครัว จนตอนนี้เธอได้ขอลาพักจากการสอนทั้งด้วยาเหตุทางสุขภาพจิตที่แย่ลงเพราะเธอมองว่าการกลับมาสอนในห้องเรียนนั้นยังไม่ปลอดภัย และจนถึงตอนนี้เธอก็ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองจะกลับไปสอนต่อเมื่อหมดช่วงเวลาลางานแล้ว ลิซ่ายืนยันว่าเธอรักนักเรียนมาก แต่ว่าการทำงานที่หนักเกินไปแทบจะฆ่าเธอตาย “โควิดไม่ได้ฆ่าฉันหรอก แต่เขาจะให้ฉันทำงานจนตาย”
 
คุณครูจะกลับมาไหม?
นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อมั่นว่าคุณครูหลายท่านจะกลับมาอีกครั้งเมื่อสถานการณ์โควิด-19คลี่คลายลง แบบสำรวจพบว่า 13% ของครูอาจารย์ในอเมริกา ที่ลาออกเพราะภาวะโรคระบาดยืนยันอยากกลับมาสอนอีกครั้ง แต่ว่าก็มีหลายท่านที่ยังพิจรณาว่าอาจจะกลับมาสอนอีก นักวิจัยจาก RAND ทิ้งท้าย ว่านี่เป็นปัญหาของระบบที่จะต้องได้รับการรับมืออย่างเร่งด่วนในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ สิ่งสำคัญคือความยืดหยุ่นที่ระบบให้กับคุณครูในช่วงเวลานี้ เป็นหน้าที่ของทุกคนในวงการการศึกษาที่ต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบและบุคลากรครูมากขึ้นนั่นเอง
 
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลจาก EdWeek