7 วิธี ที่เหมาะสม ได้ประสิทธิภาพ ในการประเมิน การเรียนการสอนนักเรียน

การประเมิน

7 วิธี ที่เหมาะสม ได้ประสิทธิภาพ  ในการประเมิน การเรียนการสอนนักเรียน

การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์และเกิดประสิทธิภาพ แน่นอนว่าการประเมินนักเรียนให้ความเข้าใจระหว่างสอนเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้ได้นำเสนอ 7 วิธีการประเมินการเรียนที่เหมาะสม โดยอ้างอิงจากบทความในเว็บไซต์ edutopia ดังนี้

 

1.มีการแจก ทำใบประเมินก่อน-หลังเริ่ม Class เรียน : โดยคุณครูอาจเสียเวลาสักเล็กน้อย เพื่อให้นักเรียนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ดูว่าเด็กมีการเรียนรู้ที่เข้าใจมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้การเขียนอาจเป็นการ เขียนเพื่อถกเช็คความเข้าใจกันบนกระดานเป็นหัวข้อ หรือเป็นการตั้งหัวข้อสนทนา คาดการณ์เพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมกับหัวข้อนั้นๆ ก็เป็นได้

 

2.การทำแบบสอบถาม การประเมินในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เน้นเชิงวิขาการมากไป : โดยการสร้างแบบสำรวจเชิง Socrative (แอปพลิเคชันที่ช่วยสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินผลนักเรียน) หรือ Quizlet เกมและเครื่องมือในชั้นเรียนเช่น Quizalize, Kahoot, FlipQuiz, Gimkit, Plickers และ Flippity สามารถช่วยคุณได้ โดยจะสามารถประเมินความเข้าใจได้ดีขึ้นว่าพวกเขาเข้าใจบทเรียนมากแค่ไหนนั่นเอง

 

3.การประเมินวัดระดับ Dipsticks : เป็นอีกวิธีที่ง่ายและเห็นผลได้จริง โดยอาจจะให้นักเรียนทำกิจกรรม จับคู่กับเพื่อนเขียนสรุปอธิบายบทเรียน ส่งต่อให้เพื่อนที่จับคู่กัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทำงานเป็นคู่ได้ไอเดียใหม่ๆ ด้วย

 

4.การประเมินสัมภาษณ์ : คุณครูผู้สอนควรมีเวลาในการพูดคุยกับเด้กนักเรียน อาจให้มาเป็นกลุ่ม หรือคนละ 5 นาที เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถาม แนะนำทำความเข้าใจ อาจเป็นการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจกับโครงสร้างบทเรียน เพื่อให้ทั้งครูและเด็กนำไปต่อยอดปรับในจุดที่เข้าใจ เพื่อที่จะได้เข้าใจตรงกัน

 

5.อาจใช้ทัศนศิลป์เข้าช่วย : เช่นงานภาพ งานวีดีโอ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ช่วยกันต่อเติมภาพสร้างสรรค์ หรือการปั้น อาจช่วยวัดเรื่องจิตใจ เกิดความผ่อนคลายกับบทเรียนนั้นๆ ด้วยเช่นกัน

 

6.ข้อผิดพลาด : บางครั้งนักเรียนอาจไม่เข้าใจบทเรียน ซึ่งเป็นเคสการอภิปรายที่ยาก ประเด็น บริบท ปัญหาที่อาจจะสร้างความยุ่งต่อการทำความเข้าใจ เช่นโจทย์คณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน เมื่อใดที่นักเรียนทำผิดซ้ำๆ อาจนำการสอนเหล่านั้นมาปรับทำความเข้าใจ เพราะการผิดซ้ำๆ จะทำให้นักเรียนเกิดความจำ แนะนำในทางที่ถูกให้แก่พวกเขา แต่ไม่ใช่การวิพากษ์วิธีการที่ผิด หรือไปจี้หาเหตุผลว่าทำไมถึงทำผิด แนะเป็นการแก้ไขแนะนำให้ความเข้าใจจะดีกว่า

 

7.การประเมินตัวเอง : ทั้งนี้ครูผู้สอนเอง อาจจะทำการประเมินตัวเอง ประเมินการสอนของตัวเอง หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก เพื่อประเมินจุดอ่อนจุดแข็งและนำมาปรับใช้กับการสอนด้วย

 

 

ที่มา :  https://www.edutopia.org/article/7-smart-fast-ways-do-formative-assessment

#LearnEducation #LearningSolutionForAll

———————————————